3522 จำนวนผู้เข้าชม |
หากพูดถึงคำว่ารับทำโปรแกรมในเชิงของ Mobile Application หลายๆท่านคงมีภาษาที่คุ้นเคยในการรับทำโปรแกรมอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Java , JavaScript + HTML5 , Swift , C# , C++ อย่างไรก็ดีในการรับทำโปรแกรมนั้นภาษาที่ถูกใช้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็น Framework ใหม่ๆมากมาย และหนึ่งใน Framework ที่กำลังมาแรงในปัจจุบันนั้นคือ “Flutter”
Flutter คือ Framework ที่ใช้สร้าง UI สำหรับ mobile application ที่สามารถทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้ทั้ง iOS และ Android ได้ในเวลาเดียวกัน โดยภาษาที่ใช้ใน Flutter นั้นจะเป็นภาษา dart ซึ่งถูกพัฒนาโดย Google และที่สำคัญคือเป็น open source ที่สามารถใช้งานได้แบบฟรี ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตามในการรับทำโปรแกรมแล้วอยากใช้ Flutter นักพัฒนาไม่ต้องกังวลกับวิธีการใช้งานมากนัก เนื่องจาก syntax ของภาษา dart ที่ใช้ใน Flutter ซึ่งจะมีความคล้ายกับภาษา Java ที่เป็นที่รู้จักมาอย่างยาวนานและเป็นภาษาพื้นฐานที่นักพัฒนาส่วนใหญ่สามารถทำได้ เนื่องจาก dart เป็นภาษาที่รองรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-oriented programming) และมีแนวคิดของ class และ inheritance เช่นเดียวกับภาษา Java นั่นเอง
จุดเด่นหลัก ๆในการรับทำโปรแกรมโดยใช้ Flutter มีอยู่หลายประเด็นดังนี้
Hot Reload
Feature นี้ช่วยให้การรับทำโปรแกรมของนักพัฒนานั้น สามารถทำงานเร็วขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ฉลาด ถ้าต้องการจะเปลี่ยนบางอย่างใน Data ของการสร้าง app interface นักพัฒนาสามารถเปลี่ยนแปลงภายใน code ขณะที่ Software กำลังดำเนินการอยู่ การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างก็จะปรากฎให้เห็นในแอพเลย เสมือนกับว่าคุณกำลังสร้าง website ในการเปิดใช้งาน เพียงแค่กดปุ่ม Hot reload เท่านั้น
การพัฒนาที่รวดเร็ว
นอกจากฟังก์ชั่น Hot reload ที่กล่าวไปแล้วนั้น ยังมีฟังก์ชั่นอื่นอีกมากมายที่ช่วยทำให้การรับทำโปรแกรมของคุณนั้นเป็นไปด้วยความรวดเร็ว อาทิ widgets, ตัวควบคุม และ libraries จำนวนมากที่คุณสามารถปรับแต่งได้เองตามที่คุณต้องการ นอกจากนั้นกระบวนการในการพัฒนา UI ยังมีความรวดเร็วมากอีกด้วย
การ Render ที่รวดเร็ว
เนื่องจากมีการ Render ที่เร็ว จึงสามารถสร้าง รูปและ โมเดล 2D ได้เร็วขึ้น ทำให้การรับทำโปรแกรมของคุณเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
Cross-platform
หากรับทำโปรแกรมด้วย Flutter ผู้พัฒนาสามารถสร้าง UI ที่ใช้ได้ใน iOS และ Android ด้วยความที่สามารถรองรับเครื่องมือได้หลายเครื่องมือ อาทิ intelliJ, Android Studio และ Visual Studio Code
Open source
ในการที่เลือกรับทำโปรแกรมด้วย Flutter นั้นจะไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ด้วยความที่เป็น Open source ดังนั้นทุกอย่างฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทุกคนสามารถใช้งานได้เลย
Themes
ด้วยความที่ Flutter มี Themes ที่หลากหลาย ทำให้ในการรับทำโปรแกรมนักพัฒนาสามารถสร้างรูปแบบได้หลากหลายทั้งใน Android และ iOS
อย่างไรก็ตามการรับทำโปรแกรมด้วย Flutter ก็มีข้อเสียอยู่บ้างดังนี้
รองรับแค่ใน Mobile
ตอนนี้ Flutter ทำงานได้แค่ในแอพมือถือเท่านั้น ยังไม่มี web browser ที่รองรับ แต่มันก็เป็นเรื่องของเวลา เดี๋ยวข้อเสียนี้จะหายไปในไม่ช้า แต่ก็ยังต้องรอต่อไป
มีความคุ้นเคยน้อย
การใช้ภาษา dart ในการเขียน ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับ syntax ของภาษานี้สักเท่าไร ประกอบกับ community ยังเล็กอยู่เนื่องจาก Flutter ยังเปิดตัวมาได้ไม่นานนักเมื่อเทียบกับ Framework ตัวอื่น ๆ อย่าง React Native
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ Framework ที่มาแนะนำกันในวันนี้ เทคโนโลยีมีการอัปเดทตลอดเวลา ดังนั้นเราในฐานะคนไอทีต้องตามเทคโนโลยีให้ทันอยู่ตลอด