“AI” เทคโนโลยีสมองกลที่ทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์

1532 จำนวนผู้เข้าชม  | 

“AI” เทคโนโลยีสมองกลที่ทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์

“AI” เทคโนโลยีสมองกลที่ทำให้คอมพิวเตอร์คิดได้เหมือนมนุษย์

หากพูดถึงคำว่า AI หลายปีมานี้ทุกท่านคงเคยได้ยินกันบ่อยจนเป็นคำที่คุ้นหู แต่ทุกท่านทราบไหมครับว่าจริง ๆ แล้ว AI นั้นคืออะไรกันแน่ และวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ AI ให้มากขึ้นกันครับ

   AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือแปลเป็นไทยว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หากจะอธิบายง่าย ๆ เลยคือการที่ทำให้ระบบทำงานและคิดได้เหมือนกับการทำงานของสมองมนุษย์ แต่AI ที่มีการใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีขึ้นเพื่อทดแทนสมองของมนุษย์เลยทีเดียว แต่เป็นการมุ่งหวังว่าให้ Output ที่ออกมาจาก AI นั้นสามารถตอบโต้กับผู้ใช้งานได้อย่างตรงประเด็น เหมือนผู้ใช้งานกำลังตอบโต้กับมนุษย์มากที่สุด

  แต่อย่างไรก็ตาม AI ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ก็เหมือนกับเด็กแรกเกิด ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตยังไม่มี จึงต้องเกิดการเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์และนำมาปรับใช้ เช่น เด็กคนหนึ่งไปจับเตารีดแล้วรู้สึกร้อน สมองจะจดจำความเจ็บปวดนั้นและเรียนรู้ว่าครั้งหน้าจะไม่ทำเช่นนั้นอีก AI ก็เช่นเดียวกันระบบต้องมีการเรียนรู้ข้อมูลต่างๆก่อนแล้วจึงนำมาประมวลผลข้อมูลได้

  หากมอง AI ให้ลึกลงไปอีก AI จะต้องมีตัวที่ทำหน้าที่เป็นสมองเพื่อให้ AI นั้นสามารถที่จะเรียนรู้ได้ ซึ่งสิ่งนั้นเราเรียกว่า โครงข่ายประสาทเทียม (Artificial Neural Networks) โดยมีแรงบันดาลใจมาจากการทำงานของเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองของมนุษย์ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่นในปัจจุบันมนุษย์สามารถพัฒนาโครงข่ายประสาทเทียมให้สามารถที่จะให้ AI นั้นเรียนรู้ข้อมูลทางด้านศิลปะที่มีความยากสำหรับคอมพิวเตอร์ได้สำเร็จ จน AI สามารถแต่งเพลง แต่งนิทาน หรือแม้กระทั้งให้คอมพิวเตอร์สะกดตัวอักษรโดยใช้เพียงแค่คลื่นสมองของมนุษย์เท่านั้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ตอนนี้ทุกท่านคงได้รู้จักกับ AI มากขึ้นไปอีกระดับ แต่ส่วนการทำงานของโครงข่ายประสาทเทียมจะเกิดการเรียนรู้อย่างไร หรือองค์ประกอบในโครงข่ายประสาทเทียมจะเหมือนกับ เซลล์ประสาทของมนุษย์แค่ไหน เดี๋ยวครั้งหน้าผมจะมาอัพเดทให้ทุกท่านได้ทราบกันนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้